ราชกิจจาฯ ประกาศปลดล็อก การใช้ประโยชน์สารสำคัญใน ‘กัญชง-กัญชา’ พ้นยาเสพติด

เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 โดยสาระสำคัญของการยกเว้นไม่เป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 ของกัญชา กัญชง โดยคร่าว


เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 โดยสาระสำคัญของการยกเว้นไม่เป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 ของกัญชา กัญชง โดยคร่าว

  1. สาร CBD (pure 99%) จากกัญชา และกัญชง ถูกยกเว้นไม่เป็นยาเสพติด สามารถนำไปผสมในอาหาร เครื่องสำอาง ได้
  2. สารสกัด (crude extract) ที่มี THC ปน ไม่เกิน 0.2% สามารถเป็นยา และผลิตภัณฑ์สมุนไพรได้
  3. และข้อยกเว้นอื่นๆ รายละเอียดตามประกาศฯ ทั้งนี้ จำหน่ายได้ภายในประเทศเท่านั้น มีระยะเวลา 5 ปี นับจากวันที่ 27 สิงหาคม 2562

กัญชารู้จักมานานแล้ว
เมื่อสมัยเด็กๆ ผมจะเห็นพี่ป้าน้าอา เวลาจะทำแกงไก่ ต้มยำไก่ ต้มส้มไก่ จะเป็นว่า เขาเอาใบ สีเขียวๆ แหลมๆ มาใส่ในต้มด้วย รู้ภายหลังว่ามันคือ กัญชา และ รู้อีกว่า มันผิดกฏหมายย เป็น สารเสพติด แต่ผ่านมา 40 ปีแล้วนับจากวันนั้นถึงวันนี้ ปี 2562 กัญญาได้ถูกปลดล็อก การใช้ประโยชน์จากสารในกัญชา จริงๆ แล้ว ตอนนี้ ไม่มีใครไม่รู้ว่า กัญชาคืออะไร แต่ก็ไปดูกันสักหน่อยนะครับ ว่า กัญชาคืออะไร

กัญชาคืออะไร
กัญชา (Canabis) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis sativa L. เป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่ง มีขนาดลำต้นสูงประมาณ 2-5 เมตร กัญชาเป็นพืชที่มีต้นตัวผู้ และต้นตัวเมีย แยกกัน (dioecious plant) ลักษณะของใบกัญชาจะแยกออกเป็นแฉกประมาณ 5-8 แฉก โดยทุกแฉกจะมีรอยหยัก มีดอกออกเป็นช่อเล็กๆ ตามกิ่งและก้านของต้น ซึ่งส่วนของกัญชาที่นำมาใช้เป็นยาเสพติดก็คือ บริเวณใบ ยอดช่อดอก และกิ่งก้านที่นำมาตากแดดจนแห้ง แล้วบดให้ละเอียด

กัญชาสรรพคุณในทาง (ยา)
กัญชา หรือ ต้นกัญชา เป็นสารเสพติดโดยตั้งใจใช้เป็นยาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทและเป็นยารักษาโรค ในทางเภสัชวิทยา องค์ประกอบที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทหลักของกัญชา คือ เตตระไฮโดรแคนนาบินอล (THC) ซึ่งเป็นสารประกอบหนึ่งจาก 483 ชนิดที่ทราบว่าพบในต้นกัญชา ซึ่งสารอื่นที่พบมีแคนนาบินอยด์อีกอย่างน้อย 84 ชนิด เช่น แคนนาบิไดออล (CBD) แคนนาบินอล (CBN) เตตระไฮโดรแคนนาบิวาริน (THCV) และ แคนนาบิเจอรอล (CBG)

มนุษย์มักบริโภคกัญชาเพื่อผลที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทและสรีรวิทยาของมัน ซึ่งรวมถึงภาวะเคลิ้มสุข ความผ่อนคลาย และความอยากอาหารเพิ่มขึ้น ผลข้างเคียงไม่พึงปรารถนาบางครั้งรวมถึงความจำระยะสั้นลดลง ปากแห้ง ทักษะการเคลื่อนไหวบกพร่อง ตาแดง และรู้สึกหวาดระแวงหรือวิตกกังวล

ปัจจุบันกัญชาใช้เป็นยานันทนาการหรือยารักษาโรค และเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมทางศาสนาหรือวิญญาณ มีบันทึกการใช้กัญชาครั้งแรกตั้งแต่สหัสวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล นับแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 กัญชาถูกจำกัดตามกฎหมาย โดยปัจจุบันการครอบครอง การใช้หรือการขายการเตรียมกัญชาปรุงสำเร็จซึ่งมีแคนนาบินอยด์ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทผิดกฎหมายในประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลก สหประชาชาติแถลงว่า กัญชาเป็นยาผิดกฎหมายที่ใช้มากที่สุดในโลก

ในปี 2547 สหประชาชาติประมาณการบริโภคกัญชาทั่วโลกชี้ว่าประมาณ 4% ของประชากรผู้ใหญ่ทั่วโลก (162 ล้านคน) ใช้กัญชาทุกปี และประมาณ 0.6% (22.5) ใช้ทุกวัน

นอกจากจะเป็นการพูดเชิงคุยเล่นหรือเชิงวิชาการ น้อยคนที่จะพูดถึงกัญชาในชื่อตรงๆ แต่คำเรียกของกัญชาที่เป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่นคือ คำว่า “ดูดเนื้อ” หรือการ “ปุ๊น” บางคนอาจจะเรียกว่า “มาลีฮวนน่า” ก็แล้วแต่ความนิยมของในพื้นที่นั้นๆ

อาการของผู้เสพกัญชา
เพราะสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol) ที่มีอยู่มากในกัญชา จึงทำให้ในระยะแรกที่เสพเข้าไป ผู้เสพจะมีอาการตื่นเต้น ร่าเริง หัวเราะง่าย ช่างพูดช่างคุย จนเมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 1-2 ชั่วโมง กัญชาจะเริ่มออกฤทธิ์กดประสาท ทำให้ผู้เสพมีอาการคล้ายกับเมาเหล้า หน้าแดง ลิ้นไก่พันกัน พูดไม่ค่อยรู้เรื่อง เซื่องซึม ง่วงนอนตลอดเวลา และเมื่อเสพเข้าไปมากเกินขนาด ผู้เสพก็จะเริ่มมีอาการอื่นๆ ที่ร้ายแรงเพิ่มขึ้นอีก เช่น เกิดภาพลวงตา ควบคุมตัวเองไม่ได้ เกิดอาการก้าวร้าวดุร้ายขึ้นมา

โทษของกัญชามีอะไรบ้าง
กัญชาเป็นยาเสพติดที่เสพแล้วไม่ติด และไม่มีผลข้างเคียงหากผู้เสพจะหยุดเสพอย่างกะทันหัน หากเสพในระยะเวลาไม่นาน เพราะกัญชานั้นเป็นเพียงพืชที่มีฤทธิ์ต่อจิตประสาทแบบอ่อนๆ เท่านั้น ผลข้างเคียงที่จะตามมาหลังจากกัญชาหมดฤทธิ์คือ ผู้เสพจะมีอารมณ์อ่อนไหว ไม่มีสติ สมองสั่งงานช้า ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ใจสั่น หูแว่ว ซึ่งหากหยุดเสพแล้ว อาการเหล่านี้ก็จะหายไปเอง แต่อย่างไรก็ตาม หากผู้เสพเสพกัญชาในปริมาณมากและต่อเนื่อง ก็จะส่งผลเสียต่อร่างกายได้ เช่น

  • ผลต่อระบบทางเดินหายใจ (Respiratory Tract System): การเสพกัญชาอย่างต่อเนื่องจะก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอเรื้อรัง หลอดลมอักเสบ และการเสพกัญชาอาจมีผลทำให้เกิดโรคมะเร็งจากสารก่อมะเร็งได้ด้วย
  • ผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular system): กัญชาจะเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ อีกทั้งมีความสัมพันธ์กับผลไม่พึงประสงค์ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) และภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายฉับพลัน (heart attack)
  • ผลต่อเชาวน์ปัญญา (cognitive functioning): เช่น สมาธิ (attention) ความจำช่วงสั้น (short-term memory) การรับรู้เวลา (time perception) และเชาวน์ปัญญาขั้นสูง (high cognitive functioning) เช่น การ คิดเลขในใจ (mental arithmetic) เมื่อมีการใช้กัญชาเป็นระยะเวลานานๆ
  • ผลต่อความผิดปกติทางจิต (psychosis): การใช้กัญชามีความสัมพันธ์ต่ออาการผิดปกติดังกล่าว โดยเฉพาะโรคทางจิตใจที่มีความผิดปกติของความรู้สึก ความคิด อาการ หรือพฤติกรรม (mental disorder Schizophrenia) โดยการใช้กัญชาจะทำให้อาการแย่ลง
  • ผลทำให้เกิดอาการติดยา (dependence syndrome): การใช้กัญชาเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดอาการติดยาประมาณ 1 ใน 10 ของผู้เสพกัญชา ทั้งนี้ อัตราส่วนจะเพิ่มขึ้นเป็น 1 ใน 6 ของจำนวนผู้เสพ หากเริ่มเสพตั้งแต่เป็นวัยรุ่น ซึ่งผู้เสพติดกัญชาจะมีความต้องการอย่างมากที่จะเสพ ไม่สามารถที่จะลดการเสพลงได้ หากเสพลดลงหรือไม่ได้เสพจะเกิดอาการถอนยาหรือขาดยา และเกิดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม (withdrawal and behavioral systems)

โทษของกัญชาตามกฎหมายประเทศไทย
ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษปี พ.ศ. 2522 กัญชาถูกจัดให้เป็นยาเสพติดประเภทที่ 5 ซึ่งห้ามผลิต จำหน่าย นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ครอบครอง หากผู้ใดฝ่าฝืน จะมีโทษตามกฎหมายหลัก 4 ประเภท ดังต่อไปนี้

ผลิต นำเข้า ส่งออก: จำคุกตั้งแต่ 2-15 ปี มีโทษปรับตั้งแต่ 200,000-1,500,000 บาท
ครองครองเพื่อจำหน่าย (ไม่ถึง 10 กิโลกรัม): จำคุกคั้งแต่ 2-10 ปี มีโทษปรับตั้งแต่ 40,000-200,000 บาท หรืออาจทั้งจำทั้งปรับ
ครอบครองเพื่อจำหน่าย (เกิน 10 กิโลกรัม): จำคุกตั้งแต่ 2-15 ปี มีโทษปรับตั้งแต่ 200,000-1,500,000 บาท หรืออาจทั้งจำทั้งปรับ
ครอบครองเพียงอย่างเดียว: จำคุกไม่เกิน 5 ปี มีโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรืออาจทั้งจำทั้งปรับ แต่หากครอบครองเกิน 10 กิโลกรัม จะถือว่าเป็นการครอบครองเพื่อจำหน่าย
เสพ: จำคุกไม่เกิน 1 ปี มีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรืออาจทั้งจำทั้งปรับ

และล่าสุดครับ กฏหมายได้แก้ไขเพิ่มเติม ในพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2562 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ณ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ผ่านมา อนุญาตให้ใช้ประโยชน์จากกัญชาและกระท่อมเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ การรักษาผู้ป่วย หรือการศึกษาวิจัยและพัฒนา ซึ่งในขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

  • องค์การเภสัชกรรม
  • กรมการแพทย์
  • กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ
  • กรมสุขภาพจิต
  • สำนักงานอาหารและยา

ได้ดำเนินการเพื่อให้มีการนำประโยชน์จากสารสกัดจากกัญชา มาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์บนพื้นฐานตามหลักวิชาการด้านการแพทย์ที่เหมาะสม ภายใต้การควบคุมดูแลของผู้เชี่ยวชาญตามมาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพตามที่ได้ระบุในกฎหมายใหม่ ซึ่งต้องเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาตตามกฎหมายเท่านั้น

ส่วนผลิตภัณฑ์กัญชา หมายถึง รูปแบบ หรือลักษณะของสารสกัดจากกัญชาที่ผ่านการเตรียมเพื่อนํามาใช้ ทางการแพทย์กับผู้ป่วย เช่น เม็ด สเปรย์พ่นในช่องปาก น้ำมันหยดใต้ลิ้น แท่งเหน็บทวารหนัก และอื่นๆ

ถึงแม้กัญชาจะมีสรรพคุณช่วยรักษาโรคได้ หรือมักถูกใช้ในทางการแพทย์เป็นส่วนมาก แต่พืชชนิดนี้ก็ยังขึ้นชื่อว่าเป็นสารเสพติดที่ผิดกฎหมาย และมีฤทธิ์ให้โทษกับร่างกายเมื่อเสพในระยะยาว ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงการเสพกัญชา และไม่หลงตามคำชักชวนของเพื่อนฝูงหรือคนรอบข้างที่ชอบเสพกัญชาอยู่บ่อยๆ เพื่อป้องกันผลเสียที่จะตามมาในภายหลัง

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เคลียร์ “กัญชา-กัญชง” ไม่ใช่ยาเสพติดประเภท 5 บางกรณี
สธ.แจงประกาศกระทรวงฯ สารสกัดกัญชา-กัญชง “ CBD บริสุทธิ์ -THC น้อยกว่า 0.2 %” ไม่จัดเป็นยาเสพติดใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ ส่วน อย.เตรียมออกกฎระเบียบรองรับ นำเมล็ด/น้ำมันเมล็ดกัญชงใช้อุตสาหกรรมอาหาร-เครื่องสำอาง

หลังจากราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศ 2 ฉบับเกี่ยวกับประเด็นกัญชาและกัญชง โดยฉบับแรก คือ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษประเภท 5 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2562 มีสาระสำคัญคือ กำหนดเพิ่มเงื่อนไขสำหรับยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ลำดับที่ 1 คือ กัญชา และลำดับที่ 5 คือ กัญชง โดยมีเงื่อนไขการยกเว้นไม่เป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 และฉบับที่ 2 คือ ประกาศคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ เรื่อง กำหนดลักษณะกัญชง (Hemp) พ.ศ. 2562 มีสาระสำคัญคือ กำหนดลักษณะกัญชงเพื่อประโยชน์ในการควบคุมการผลิต การนำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภทที่ 5 เฉพาะกัญชง (Hemp) ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์กัญชง จนเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่า จริงๆแล้วประกาศดังกล่าวเปิดให้มีการใช้ที่ไม่ผิดกฎหมายหรือไม่ หรือยังคงเป็นยาเสพติดอยู่

เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2562 ที่ผ่านมา นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงฯ ยกเว้นสารสกัดจากกัญชาและกัญชงและบางส่วนของพืชกัญชง ให้ไม่ต้องถูกควบคุมเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ เช่น อาหาร เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สมุนไพร และยา นำรายได้เข้ามาสู่ประเทศต่อไป โดยประกาศฯ ได้กำหนดให้สารสกัดในพืชกัญชงและพืชกัญชา ไม่เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ได้แก่ แคนนาบิไดออล (CBD) บริสุทธิ์ และผลิตภัณฑ์ที่มี CBD เป็นส่วนประกอบหลักและสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (THC) ซึ่งเป็นสารที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทในสัดส่วนที่น้อยกว่าร้อยละ 0.2 เช่นเดียวกับหลายประเทศ เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการผลิตยาหรือผลิตภัณฑ์สมุนไพร

นายอนุทิน กล่าวว่า รวมทั้งในกรณีของกัญชง ได้มีการยกเว้นให้เมล็ดกัญชงหรือน้ำมันจากเมล็ดกัญชง (Hemp seed /Hemp seed oil) หรือสารสกัดจากเมล็ดกัญชง (Hemp seed extract) ให้สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องสำอางได้ นอกจากนี้ ในระยะ 5 ปีแรกยังกำหนดให้ยกเว้นเฉพาะสำหรับการผลิตในประเทศไทย เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการภายในประเทศได้ใช้ประโยชน์จากกัญชงในการนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์อื่น นอกเหนือจากประโยชน์ด้านเส้นใย เพื่อพัฒนาพืชกัญชงให้เป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศ อีกทั้ง คณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ ยังได้ออกประกาศกำหนดลักษณะกัญชง (Hemp) ซึ่งมีสาระสำคัญ คือ แยกพืชกัญชงกับพืชกัญชาให้ชัดเจนด้วย โดยเป็นไปตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562

นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์

ด้าน นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ อย. อยู่ระหว่างเร่งปรับปรุงแก้ไขกฎกระทรวงการอนุญาตเกี่ยวกับกัญชง พ.ศ. 2559 จากเดิมที่มีบทเฉพาะกาล 3 ปีให้เฉพาะหน่วยงานของรัฐขออนุญาตได้ เป็นให้ภาคเอกชนสามารถขออนุญาตได้ด้วย และเปิดกว้างให้สามารถพัฒนาการปลูกกัญชงไปใช้ในอุตสาหกรรมอื่น นอกเหนือจากเดิมที่เน้นการใช้ประโยชน์เส้นใย พร้อมกันนี้ อย. จะต้องออกกฎ ระเบียบสำหรับผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ยา ผลิตภัณฑ์สมุนไพร อาหาร เครื่องสำอาง เพื่อให้รองรับการนำกัญชงไปใช้ประโยชน์ในผลิตภัณฑ์นั้น ๆ เป็นการเพิ่มมูลค่าของกัญชง เพื่อพัฒนาและสนับสนุนผู้ประกอบการภายในประเทศต่อไป ขอให้ผู้ประกอบการที่มีความสนใจจะดำเนินการเกี่ยวกับกัญชง ติดตามความคืบหน้าได้จากเว็บไซต์ อย. www.fda.moph.go.th

ที่มาของข้อมูล
ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงสาธารณสุข
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/199/T_0011.PDF
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, คำแนะนำการใช้กัญชาทางการแพทย์ http://www.dms.moph.go.th/dms2559/download/Final_Guidance.pdf
คณะเภสัชศาตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล : บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน, กัญชากับการรักษาโรค
https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/453/กัญชา/
สำนักข่าว Hfocus (เอชโฟกัส)
https://www.hfocus.org/

Comments

comments